HTTP
HTTP ย่อมาจาก Hypertext
Transfer Protocol คือ
โพรโทคอลสื่อสารสำหรับการแลกเปลี่ยนสารสนเทศผ่านอินเทอร์เน็ต
โดยหลักแล้วใช้ในการรับเอกสารข้อความหลายมิติที่นำไปสู่การเชื่อมต่อกับ World
Wide Web(WWW )จะใช้เมื่อเรียกโปรแกรมweb browserเช่น Firefox,
Google Chrome, Safari, Opera และ IE Microsoft
Internet Explorer เรียกดูข้อมูลหรือเว็บเพจ
โปรแกรมบราวเซอร์ดังกล่าวจะใช้โปรโตคอล HTTP
ซึ่งโปรโตคอลนี้ทำให้เซิร์ฟเวอร์ส่งข้อมูลมาให้บราวเซอร์ตามต้องการ
และบราวเซอร์จะนำข้อมูลมาแสดงผลบนจอภาพได้อย่างถูกต้อง
ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่าง Server และ Client ของ
World Wide Web (Server) โดยส่งข้อมูลแบบ Clear text คือ ข้อมูลที่ทำการส่งไปนั้น ไม่ได้ทำการเข้ารหัส
ทำให้สามารถถูกดักจับและอ่านข้อมูลได้ง่าย
แหล่งที่มา : http://staff.cs.psu.ac.th/noi/cs344-481/group11_Http/Image26.gif
HTTPS
https ย่อมาจาก Hypertext
Transfer Protocol over Secure Socket Layer หรือ http over
ssl คือ โปรโตคอลที่ระบุถึงการเชื่อมต่อแบบ Secure http โปรโตคอล https สร้างเพื่อความปลอดภัย
ในการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตข้อมูลที่ทำการส่งได้ถูกเข้ารหัสเอาไว้
โดยใช้ Asymmetric Algorithm ซึ่งถ้าถูกดักจับได้ก็ไม่สามารถที่จะอ่านข้อมูลนั้นได้รู้เรื่อง
โดยข้อมูลนั้นจะสามารถอ่านได้เข้าใจเฉพาะClient กับเครื่อง Server
เท่านั้น นิยมใช้กับเว็บไซต์ที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น
เว็บไซต์ของธนาคาร ร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น
แหล่งที่มา : https://hatyaisoftwaredevelop.files.wordpress.com/2014/12/pp2012no0002-04.jpg
POP3
POP3 (Post
Office Protocol) เป็น Protocol มาตรฐานที่ใช้งานในการคัดลอกข้อมูล
E-mail message ทั้งหมดจาก อีเมล์เซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องที่ทำการเชื่อมต่อโดยจะทำการอัพเดทเฉพาะข้อมูลใหม่ที่พบในอีเมล์เซิร์ฟเวอร์เท่านั้น
และเมื่อดึงข้อมูลมาแล้วโปรแกรม Mail Client มักจะลบข้อมูลใน
Mailbox server ด้วยดังภาพ
แหล่งที่มา : https://mail.egat.co.th/owapage/km/images/mailproto1.png
SMTP
SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) เป็น
โปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้ในการส่ง E-mail Message เท่านั้น
ดังนั้นหากตั้งค่าการใช้งานเมล์โดยใช้ POP3 หรือ IMAP4 แล้วจึงจำเป็นต้องตั้งค่า SMTP ด้วยเพื่อ
ให้โปรแกรม Mail Client สามารถส่งเมล์ได้ดังภาพ
แหล่งที่มา : https://mail.egat.co.th/owapage/km/images/mailproto3.png
FTP
FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol คือ
โปรโตคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ถูกนำใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
อย่างการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง ไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย
เรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์
ซึ่งทำให้การถ่ายโอนไฟล์ง่ายและปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ต การใช้
FTP ที่พบบ่อยสุด ก็เช่น การดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต
ความสามารถในการถ่ายโอนไฟล์ ทำให้ FTP เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่สร้างเว็บเพจ
ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง
Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น
จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ
รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน
และโปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
เช่น โปรแกรม Filezilla,CuteFTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น
FTP แบ่งเป็น 2 ส่วน
1.
FTP server เป็นโปรแกรมที่ถูกติดตั้งไว้ที่เครื่องเซิฟเวอร์
ทำหน้าที่ให้บริการ FTP หากมีการเชื่อมต่อจากไคลแอนเข้าไป
2.
FTP client เป็นโปรแกรม FTP ที่ถูกติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ
user ทั่วๆไป ทำหน้าที่เชื่อมต่อไปยัง FTP server และทำการอัพโหลด, ดาวน์โหลดไฟล์ หรือ
จะสั่งแก้ไขชื่อไฟล์, ลบไฟล์ และเคลื่อนย้ายไฟล์ก็ได้เช่นกัน
แหล่งที่มา : http://www.deskshare.com/resources/articles/images/ftp-protocol.gif
IP (Internet
Protocol)
IP เป็นโปรโตคอลในระดับเน็ตเวิร์คเลเยอร์
ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับแอดเดรสและข้อมูล
และควบคุมการส่งข้อมูลบางอย่างที่ใช้ในการหาเส้นทางของแพ็กเก็ต
ซึ่งกลไกในการหาเส้นทางของ IP จะมีความสามารถในการหาเส้นทางที่ดีที่สุด
และสามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางได้ในระหว่างการส่งข้อมูล
และมีระบบการแยกและประกอบดาต้าแกรม (datagram) เพื่อรองรับการส่งข้อมูลระดับ
data link ที่มีขนาด MTU (Maximum Transmission Unit)
ทีแตกต่างกัน ทำให้สามารถนำ IP ไปใช้บนโปรโตคอลอื่นได้หลากหลาย
เช่น Ethernet ,Token Ring หรือ Apple Talk
การเชื่อมต่อของ
IP
เพื่อทำการส่งข้อมูล จะเป็นแบบ connectionless หรือเกิดเส้นทางการเชื่อมต่อในทุกๆครั้งของการส่งข้อมูล 1 ดาต้าแกรม โดยจะไม่ทราบถึงข้อมูลดาต้าแกรมที่ส่งก่อนหน้าหรือส่งตามมา
แต่การส่งข้อมูลใน 1 ดาต้าแกรม
อาจจะเกิดการส่งได้หลายครั้งในกรณีที่มีการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ (fragmentation)
และถูกนำไปรวมเป็นดาต้าแกรมเดิมเมื่อถึงปลายทาง
แหล่งที่มา : http://www.tnetsecurity.com/content_basic/images/tcp_ip3.gif
TCP/IP
TCP/IP
(Transmitsion Control Protocol/Internet Protocol) เป็นชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้
และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ
ถึงแม้ว่าในระหว่างทางอาจจะผ่านเครือข่ายที่มีปัญหา
โปรโตคอลก็ยังคงหาเส้นทางอื่นในการส่งผ่านข้อมูลไปให้ถึงปลายทางได้
แหล่งที่มา :
http://www.thaiall.com/internet/tcpip.jpg
DHCP
DHCP ย่อมาจาก Dynamic
Host Configuration Protocol คือโพรโทคอลที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบแม่ข่ายกับลูกข่าย
โดย DHCP ได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานในการใช้งานในเครือข่ายแทน
BOOTP ซึ่งเป็นโพรโทคอลรุ่นเก่า ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1993
โดยในปัจจุบันนี้ DHCP ได้มีการพัฒนามาถึงเวอร์ชั่น
DHCPv6 ใช้กับงานร่วมกับโพรโทคอล IPv6 และได้รับมาตรฐานในการใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม
ค.ศ.2003
แหล่งที่มา :
http://www.เกร็ดความรู้.net/wp-content/uploads/2015/02/dhcp-content.jpg
หน้าที่หลักๆของ DHCP
(Dynamic Host Configuration Protocol) คือคอยจัดการและแจกจ่ายเลขหมายไอพีให้กับลูกข่ายที่มาเชื่อมต่อกับแม่ข่ายไม่ให้หมายเลขไอพีของลูกข่ายมีการซ้ำกันอย่างเด็ดขาด
อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งได้ทำการเชื่อมต่อกับ DHCP Server เครื่องเซฟเวอร์ก็จะให้
หมายเลขไอพีกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มาทำการต่อเชื่อมแบบอัตโนมัติ
ซึ่งไม่ว่าจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากเท่าไร DHCP Server ก็จะออกเลยหมายไอพีให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่ซ้ำกันทำให้เครือข่ายนั้นไม่เกิดปัญหาในการใช้งาน
IMAP
IMAP
ย่อมาจาก Internet Message
Access Protocol ซึ่งมีข้อดีกว่า โปรโตคอล POP (Post Office
Protocol) ที่จะทำงานแบบ Offline Model หรือจะเรียกว่าการทำงานด้านเดียวนั้นเอง
ซึ่งการทำงานของ POP จะแตกต่างจาก IMAP อย่างสิ้นเชิง โดยการทำงานของ POP จะใช้งานผ่าน Email
client จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดต่อกับ Mail Server โดยตรงซึ่งการแก้ไข ลบ เพิ่ม
เติมอีเมล์ก็จะทำได้จาก Email client เท่านั้น
แต่การทำงานของ IMAP นั้นทำงานแตกต่างจากโปรโตคอล POP
ด้วยการทำงานควบคู่กับอุปกรณ์สื่อสารต่าง
ๆซึ่งการทำงานแบบนี้เรียกว่า การทำงานแบบ Two way communication หรือ Online Model
แหล่งที่มา
: http://www.comgeeks.net/wp-content/uploads/2015/07/imap-content.jpg
ลักษณะการทำงานของโปรโตคอล IMAP นั้นจะทำงานแบบออนไลน์ด้วยการจัดการและประมวลผลต่าง
ๆทางออนไลน์จาก Mail Server ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งเตือนว่ามีการเปิดอ่านเมล์ใหม่หรือยัง
หรือการลบเมล์ที่มีอยู่ใน อินบล็อคออกไป โดยการทำงานทั้งหมดจะอยู่ที่ Mail
Server เป็นตัวจัดการ
ซึ่งผู้ใช้งานเพียงแต่ทำงานอ่านและจัดการสั่งงานเพียงเท่านั้น
ARP
ARP
หรือ Address Resolution Protocol เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสาร
ทำหน้าที่ในการจับคู่ระหว่างไอพีแอดเดรสทางlogical กับ
แอดเดรสทางphysical address ไอพีแอดเดรสทาง logical ก็คือหมายเลขไอพี
(IP) ที่ทำงานอยู่บน Layer 3 และ physical
addressก็คือ MAC Address ที่อยู่บน Layer
2 ตามมาตรฐาน OSI Model
การทำงานของ
ARP โดยขั้นตอนแรกเครื่องที่ต้องการสอบถาม MAC Address ก็จะส่ง ARP Request ซึ่งบรรจุ IP , MAC Address ของตนเอง และ IP
Address ของเครื่องที่ต้องการทราบ MAC Address ส่วน MAC Address ปลายทางนั้น จะถูกกำหนดเป็น FF:FF:FF:FF:FF:FF
ซึ่งเป็น Broadcast Address เพื่อให้ ARP
packet ถูกส่งไปยังเครื่องทุกเครื่องที่อยู่ในเน็ตเวิร์คเดียวกัน เมื่อเครื่องที่มี
IP Address ตรงกับที่ระบุใน ARP Packet จะตอบกลับมาด้วย ARP Packet โดยใส่ MAC
Address และ IP Address ของตนเองเป็นผู้ส่ง
และใส่ MAC Address และ IP Address ของเครื่องที่ส่งมาเป็นผู้รับ
packet ที่ตอบกลับนี้เรียกว่า ARP Reply
แหล่งที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEil3eGrThx6XPGLst6Ip_WX-IC5UUQ_Gd4Evgp4EqovVYj9LxeRMgFzAfciThWX5hghT4VCfXu0gk0G1Wt58pt9JtAvBIOHI_vQMTWfjDfrUvoM-xMP8J1B9tnDUKP0TqumI3XmdGJuT-n2/s1600/image19.png
RARP (Reverse Address
Resolution Protocol)
RARP
(Reverse Address Resolution Protocol) เป็นโปรโตคอลที่มีการทำงานที่คล้ายคลึงกับโปรโตคอล
ARP โดยจะทำงานในลักษณะตรงกันข้าม
ด้วยการแปลงหมายเลขแมคแอดเดรสให้เป็นหมายเลขไอพี ซึ่งโปรโตคอล RARP นี้ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์ที่ปราศจากดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ (Diskless
Computer) ดังนั้นเวลาบูตเครื่องจึงจำเป็นต้องบูตจากระบบปฏิบัติการเครือข่ายของเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่าย
โดยเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายจะจัดเก็บตารางความสัมพันธ์ระหว่างแมคแอดเดรสกับหมายเลขไอพี
โฮสต์ที่ต้องการหมายเลขไอพีจะทำการบรอดแคสต์ RARP Query Packet ที่บรรจุฟิสิคัลแอดเดรสไปยังทุกๆ โฮสต์บนเครือข่าย
จากนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายก็จะจัดการกับ RARP Packet ด้วยการตอบกลับไปด้วยหมายเลขไอพีไปยังโฮสต์นั้น
แหล่งที่มา : http://images.slideplayer.in.th/8/2278350/slides/slide_10.jpg
ICMP
ICMP ย่อมาจาก Internet Control Massage Protocol
มีเอาไว้ใช้ตรวจสอบการทำงาน ของ TCP/IP เช่น Ping เป็นคำสั่งสำหรับทำ
echo reply ส่งไปหากปลายทางเปิดไว้ ก็จะสะท้อนมาให้รู้
หากที่ไหนปิดไว้ ก็จะ timed out / no response ICMP เป็นเพียงโปรโตคอลที่ช่วยให้ระบบทำงานดียิ่งขึ้น
เข้ามาช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากการทำงานปกติของระดับ 3 คือ IP
รูปแบบการทำงานของโปรโตคอล
ICMP
จะทำควบคู่กับโปรโตคอล IP ในระบบเดียวกัน
และข้อความต่าง ๆ ที่แจ้งให้ทราบจะถูกรวมอยู่ภายในข้อมูล IP Packet อีกทีหนึ่ง หรือ เป็นผู้รายงานความผิดพลาดในนามของ IP เมื่อโปรโตคอลเกิดความผิดพลาดโดยไม่สามารถกู้คืนได้ Packet
ก็จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
- ยกเลิก Packet แล้วรายงานความผิดพลาดกลับมายังผู้ส่ง
ข้อความที่ส่งไปนั้นก็จะถูกทิ้ง
- การแจ้งหรือแสดงข้อความจากระบบ เพื่อบอกให้ผู้ใช้ ทราบว่า
เกิดอะไรขึ้นในการส่งผ่านข้อมูลนั้น
- โปรโตคอล ICMP ยังถูกเรียกใช้งานจากเครื่อง Server และ Router อีกด้วย
เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ใช้ควบคุม
- เมื่อมีการส่งผ่านข้อมูลจากผู้ใช้ไปยังปลายทางที่ไม่ถูกต้อง หรือขณะนั้นเครื่องปลายทางเกิดปัญหา
จนไม่สามารถรับ ข้อมูลได้
- Router จะส่งข้อความแจ้งเป็น ICMP Message ที่ชื่อ Destination
Unreachable ให้กับผู้ส่งข้อมูลนั้น
นอกจากนี้ตัวข้อมูลที่แจ้งข้อความ จะมีส่วนของข้อมูล IP
Packet ที่เกิดปัญหาด้วย
- โปรโตคอล ICMP จึงกลายมาเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการช่วยทดสอบเครือข่าย เช่น คำสั่ง Ping ที่เรามักใช้ทดสอบว่าเครื่องServer ที่ให้บริการหรืออุปกรณ์ที่ต่ออยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นยังทำงานเป็นปกติหรือไม่
แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/icmp03/_/rsrc/1472864967466/structure-icmp/hlak-kar-thangan/lan_traffic.gif
SIP
session
Initiation Protocol (SIP)
คือ โพรโทคอลหรือเกณฑ์วิธีเพื่อใช้งานด้านมัลติมีเดีย เช่น การส่งข้อมูลเสียงหรือวีดีโอบนเครือข่าย IP ได้รับการพัฒนาโดย IETF และ SIP
ถือว่าเป็นโพรโทคอลที่เหนือกว่าโพรโทคอลอื่นในแง่ของการที่สามารถปรับใช้และนำไปพัฒนาได้ง่ายกว่า
โดยตัวโพรโทคอลเองมีความสามารถในการสร้าง
(create) , ปรับ (modify) และ ยกเลิก (terminate) การติดต่อสื่อสารระหว่างโหนดที่เป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง
(unicast) หรือแบบกลุ่ม (multicast) ได้
ซึ่ง SIP สามารถปรับเปลี่ยนที่อยู่ (address), หมายเลขพอร์ต, เพิ่มสายผู้สนทนา
และสามารถเพิ่มหรือลดการส่งข้อมูลมิเดีย (media stream) บางประเภทได้
ตัวอย่างของโปรแกรมประยุกต์ (application) ที่อาศัย SIP
ในการเชื่อมต่อ เช่น การประชุมด้วยวิดีโอ (video
conferencing), การกระจายข้อมูลภาพและเสียง (streaming
multimedia distribution), การส่งข้อความด่วน (instant
messaging), การส่งไฟล์ (file transfer) และ
เกมออนไลน์ เป็นต้น
แหล่งที่มา :
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjiqafx6fPoo52tWQL5qsUrjPidlPMSaJe8o7J9jYP2cMDHphwLv2LBYclt062rAJtUeWLFUWFN3u1DlpIFAk0VzxZsJEyGraj7VYnwKSLQwdC_obxHIWYo_0bCIhpuRLO032-6w2_-hzs/s1600/SIP+server.gif
เฟรมรีเลย์
เฟรมรีเลย์ เป็นเทคโนโลยีของ Packet
switch ประเภทหนึ่งเป็นโพรโทคอลในเลเยอร์ที่ 2
ที่ใช้ในเครือข่าย WAN ความเร็วสูงซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์หลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network) ต่างๆ
ที่อยู่กระจัดกระจายออกไป ให้สามารถสื่อสารกันด้วยผ่านทาง
"โครงสร้างเน็ตเวิร์คพื้นฐานที่ใช้งานร่วมกัน"
เฟรมรีเลย์มีการใช้งานเทคนิคที่เรียกว่า Statistical Multiplexing ซึ่งทำให้อุปกรณ์ปลายทางหลายๆ ตัวสามารถเข้าถึงท่าส่งสัญญาณ
ภายในเครือข่ายของเฟรมรีเลย์ได้พร้อมๆ กัน การทำ Statistical Multiplexing สามารถจัดสรรแบนด์วิทธ์ของท่าส่งสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องตามความต้องการในการใช้งานแบนด์วิทธ์จริง
ในขณะที่ TDM ทั่วๆไป จะมีการจองแบนด์วิดธ์ไว้ใน Time
Slot ที่กำหนดล่วงหน้าถึงแม้ Time Slot นั้นจะไม่ถูกใช้งาน.
แหล่งที่มา :
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/7/76/OSI_Layer_FrameLelay.JPG/800px-OSI_Layer_FrameLelay.JPG
IPX/SPX
IPX/SPX ย่อมากจาก Internetwork Packet
Exchange (IPX) และ Sequenced Packet Exchange (SPX) โดยโปรโตคอลทั้งสองตัวนี้จะทำงานประสานกันทุกครั้ง ซึ่งโปรโตคอลทั้งสองตัวนี้ได้รับการพัฒนามาจาก
Novell โดยบริษัทนี้ได้นำโปรโตคอล XNS ของบริษัท
Xerox Corporation มาพัฒนาต่อจนกลายเป็น IPX/SPX
หลักการทำงานของโปรโตคอล
IPX/SPX ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็ต้องแยกออกมาเป็นโปรโตคอล
2 ตัวด้วยกันคือ Internetwork Packet Exchange (IPX) ทำหน้าที่เหมือนกับพนักงานคัดแยะเอกสาร
ซึ่งหน้าที่ของโปรโตคอลตัวนี้จะทำการหาปลายทางในการส่งและติดต่อกับผู้ส่ง
โดยทำงานในระดับ Network Layer โดยทำงานอยู่ในเลเยอร์ที่ 3
ตามมาตรฐานของ OSI Model โดยโปรโตคอล IPX นี้จะทำงานแบบ connectionless และ unrerelible
ซึ่งการทำงานแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อกับเครื่องที่ติดต่อกันอย่างถาวรหรือตลอดเวลา
ส่วนโปรโตคอล SPX นั้นจะเปรียบเทียบก็เป็น
พนักงานส่งจดหมายหลังจาก IPX ได้ทำการหาปลายทางและทำการจัดส่งข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
SPX จะนำข้อมูลไปส่งให้กับผู้รับซึ่งโปรโตคอลนี้จะทำงานอยู่ในระดับ
transport layer โดยทำงานอยู่ในเลเยอร์ที่ 4 ตามมาตรฐาน OSI
Model โดยมีการทำงานของโปรโตคอล SPX จะทำงานตรงกันข้ามกับโปรโตคอล
IPX เนื่องจาก SPX จะต้องทำการติดต่อปลายทางให้ได้ก่อนถึงจะส่งข้อมูลผิดกับ
IPX ไม่จำเป็นต้องติดต่อกับปลายทางก็สามารถส่งข้อมูลได้
แหล่งที่มา : http://www.comgeeks.net/wp-content/uploads/2015/09/ipx-content.gif
BOOTP
BOOTP (Bootstrap
Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ให้ผู้ใช้เครือข่าย
สามารถทำการคอนฟิกโดยอัตโนมัติ (รับ IP address) และมีการบู๊ตระบบปฏิบัติการหรือเริ่มต้นจะไม่มีการเกี่ยวข้องของผู้ใช้
เครื่องแม่ข่าย BOOTP ได้รับการบริหารโดยผู้บริการเครือข่าย
ซึ่งจะกำหนด IP address อย่างอัตโนมัติจากกองกลางของ IP
address สำหรับช่วงเวลาที่แน่นอน
BOOTP เป็นพื้นฐานสำหรับโปรโตคอลแบบ network manager ระดับสูงอื่น
ๆ เช่น Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP)
แหล่งที่มา : http://www.rhyshaden.com/images/tcpip_g.gif
SSH
SSH (Secure Shell) คือ Network
Protocol ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยช่องทางที่ปลอดภัย (Secure
Channel) ระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายสองตัว ใช้ Linux หรือ Unix เป็นระบบปฏิบัติการพื้นฐานในการเข้าถึงบัญชีผู้ใช้
(Shell Accounts) ซึ่ง SSH ได้รับการออกแบบให้มาแทนการ
Telnet, Rlogin, RSH (The remote shell) ด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัย
การส่งข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบตัวอักษร (Plaintext) ที่มีการเข้ารหัสข้อมูล
(Encryption) เพื่อให้ข้อมูลเป็นความลับและให้สามารถส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย
Internet ได้อย่างสมบูรณ์ สามารถใช้งาน SSH ผ่านโปรแกรมประยุกต์ (Applications) ได้มากมายบนระบบปฏิบัติการ
UNIX, Microsoft Windows, Apple Mac และ Linux โปรแกรมประยุกต์ (Applications)
แหล่งที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjKZ3zjqPLxHXxlYYBuxmwi4QFf40iU4qzT91rWDsFjSHO1ApvNKIXwFomHQLbRZvlfLCkTS_kGiIvQJn8ivmzG_66PK6MiNfoOWagrpZt2S0KMYxFLAsm7soZTvh9CD5RiZGAW47s1mAUo/s400/ssh-tunnel.jpg
NTP
NTP (Network Time
Protocol) เป็นโปรโตคอลสำหรับใช้เทียบเวลา
(Synchronize) ระหว่างอุปกรณ์ที่ให้บริการเทียบเวลา
(Time Server) กับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ต้องการเทียบเวลา
(Time Client) ผ่านทางเครือข่ายการสื่อสารต่างๆ
โดยโปรโตคอลจำทำงานที่พอร์ต 123 และใช้โปรโตคอล UDP ในการให้บริการ ลักษณะการให้บริการเทียบเวลาของโปรโตคอล NTP จะแบ่งออกเป็นลำดับชั้น เรียกว่า Clock Strata โดยในแต่ละลำดับชั้นจะเรียกว่า
Stratum โดยจะเริ่มต้นอยู่ที่ Stratum 0 ไปจนถึงลำดับชั้นที่ยอมรับว่ายังมีความเที่ยงตรง คือ Stratum 4 หากมากกว่านี้จะไม่ได้รับการยอมรับตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้นมาจากหน่วยงาน ANSI
(American National Standards Institute) สำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เทียบเวลากับ
Stratum 0 เรียกว่า Stratum 1 ถ้ามีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ
ขอเทียบเวลากับ Stratum 1 จะเรียกว่า Stratum 2 ตามลำดับ จนถึง Stratum 4 นั่นหมายถึงลำดับของ Stratum
ที่มากขึ้นจะมีค่าเวลาที่มีความห่างกับเวลามาตรฐานสากล Stratum
0 มากขึ้นด้วย
แหล่งที่มา : http://www.arnut.com/bb/sites/default/files/styles/large/public/field/image/ntp2.png?itok=Nqys3bb-
แหล่งที่มาของข้อมูล :
Mindphp. 2559. HTTP HTTPS คืออะไร โพรโทคอล
แลกเปลี่ยนข้อมูล. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา :http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2046-http-https-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html.
23 ตุลาคม 2559
EGAT Mail Admin. 2559. E-mail Protocol. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
https://mail.egat.co.th/owapage/km/mailprotocol.html. 23 ตุลาคม
2559
Mindphp. 2559. FTP คืออะไร
เอฟทีพี คือโปรโทคอล ที่ใช้ถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ต.
(ออนไลน์). แหล่งที่มา :
http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2147-ftp-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html.
23 ตุลาคม 2559
อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A5.
23 ตุลาคม 2559
ชวลิต
ทินกรสูติบุตร และทีมงาน ThaiCERT.
2559. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ โปรโตคอล TCP/IP. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
http://www.tnetsecurity.com/content_basic/tcp_ip_knowledge.php. 24 ตุลาคม 2559
DHCP คืออะไร ทำหน้าที่อะไร ประโยชน์ของ DHCP มีอะไรบ้าง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/dhcp/. 24 ตุลาคม 2559
IMAP คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา : http://www.comgeeks.net/imap/. 24 ตุลาคม 59
Ice Suntisuk . 2559. การทำงาน ARP Protocol (Address
Resolution Protocol). (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
http://icesuntisuk.blogspot.com/2014/06/arp-protocol-address-resolution-protocol.html.
24 ตุลาคม 59
PRAMNAJA. 2559. โปรโตรคอล. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
http://pramnaja.blogspot.com/2007/12/blog-post_06.html. 24 ตุลาคม
59
ICMP(Internet
Control Message Protocol). (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
http://amaneamisa.siam2web.com/?cid=1084626. 24 ตุลาคม 2559
หลักการทำงาน ICMP.
(ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/icmp03/structure-icmp/hlak-kar-thangan.
24 ตุลาคม 2559
Session
Initiation Protocol. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
https://th.wikipedia.org/wiki/Session_Initiation_Protocol. 24 ตุลาคม
2559
IPX คืออะไร. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.comgeeks.net/ipx/.
24 ตุลาคม 2559
โปรโตรคอล.
(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://sumatty.blogspot.com/2013/02/blog-post.html. 24 ตุลาคม 2559
Banned. 2559. SSH คืออะไร? และ
วิธีป้องกัน root ssh. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
http://kiss-hack.blogspot.com/2013/11/ssh-root-hacking.html. 24 ตุลาคม
2559
อ.อาณัติ รัตนถิรกุล. 2559. ทำความเข้าใจเรื่อง NTP (Network Time Protocol)
(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.arnut.com/bb/node/82. 24 ตุลาคม
2559